❝เลือดจระเข้❞ มีประโยชน์กับผู้ป่วยเบาหวาน!?

 

■ โดยปกติตับอ่อนในร่างกายมีเซลล์ตับอ่อน 2 ประเภท คือ

อัลฟ่าเซลล์ มีหน้าที่เร่งการเผาผลาญไกลโคเจนที่สะสมภายในตับให้กลายเป็นน้ำตาลกลูโคส เมื่อร่างกายต้องการพลังงาน

ส่วนเบต้าเซลล์ มีหน้าที่เร่งให้ตับแปรสภาพน้ำตาลส่วนเกินในกระแสเลือดให้ กลับมาเป็นพลังงานสำรองในตับในรูปของไกลโคเจนด้วยสารอินซูลิน ( Insulin)

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ระบบการทำงานของเบต้าเซลล์จะบกพร่องผลิตอินซูลินได้ลดลง ทำให้น้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมากกว่าปกติ จนปะปนออกมากับปัสสาวะ (จึงเรียกว่า เบาหวาน คือ ถ่ายเบาออกมามีน้ำตาลปนเปื้อน)

 

■ โดยเลือดจระเข้มีสาร IGF-1

โดยเลือดจระเข้มีสาร IGF-1 คล้ายอินซูลินจะทำงานเหมือนอินซูลินของมนุษย์ หลังจากผ่านการดูดซึมเข้าไปแล้ว ก็จะช่วยจับพวกน้ำตาลในกระแสเลือดเข้าไปใช้ประโยชน์ในกล้ามเนื้อ ดังนั้นเวลาที่ผู้บริโภคทานแล้วเจาะเลือดทำให้พบระดับน้ำตาลน้อยลง

ในส่วนของโปรตีน ธาตุเหล็กและแร่ธาตุต่างๆในซีรัมเลือดจระเข้จะเข้าไปช่วยสมานแผล แผลจะแห้ง หายเร็ว

เลือดจระเข้กับโรคเบาหวาน

■ IGF-1 ?

ตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลิน หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า insulin like growth factor : IGF-1 ปัจจัยการเติบโตคล้ายอินซูลิน หรือโซมาโทมีดินซ๊ (somatomedie c) คือ เปปไทด์ฮอร์โมน ซึ่งเกิดจากการกระตุ้นของโกรทฮอร์โมน และต่อมใต้สมองส่วนหน้า(anterior pituitary) ให้ IGF-1 ไปออกฤทธิ์ที่อวัยวะเป้าหมาย

 

โดย IGF-1 เป็นฮอร์โมนที่พบในร่างกายมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนใหญ่เกิดที่ตับและอวัยวะอื่นได้แก่ กล้ามเนื้อ ปอด หัวใจ ไต สมอง เซลล์ของกระดูกอ่อน และต่อมเพศ และยังพบได้ในเขากวางอ่อน

 

ผู้ที่นำไปบริโภค ก็คือกลุ่มของผู้สูงอายุ และเป็นเบาหวานอีกด้วย เราก็ก็พบว่า “เอะน้ำตาลของเค้าลดลง ระดับลดลง” มันเกิดอะไรขึ้นกับเค้า เราก็เลยมีการวิจัยต่อว่าในเลือดจระเข้ นั้นมีอะไร ที่ทำให้น้ำตาล ในผู้บริโภคนั้นลดลงได้ ระดับหนึ่ง ด้วยซ้ำ เราก็พบว่ามันมีสารที่คล้าย “อินซูลิน” มันก็คือสารที่เรียกว่า IGF-1 ซึ่งในปีก่อนเนี้ยเราเคยทดลองพบว่ามี IGF-1 มากกว่าเขากว้างอีกน่ะครับ

แล้วพอผู้บริโภคไปใช้ ก็ลดได้จริงน่ะครับ จนปีนี้ ซึ่งผลงานวิจัย จะออกมาในเร็วๆนี้ เราได้ทำการทดลอง แล้วพบว่าลดได้จริง ยิ่งถ้าเราไปทานคู่กับ วิตามินซี หรือผลไม้ บ้านเรา ทั่วทั้งหลายนี้น่ะครับ ยิ่งทำให้ การดูดซึมดี การสมานแผลดี น้ำตาลลดลงในระดับอีกหนึ่งด้วยซ้ำครับ

 

ที่มาจากบทความและบทสัมภาษณ์ รศ.ดร. วิน เชยชมศรี